การถ่ายภาพกีฬาและการเคลื่อนไหว
การถ่ายภาพกีฬาและการเคลื่อนไหว มีวิธีการถ่ายเพื่อแสดงความเร็วได้ 2 แบบ
แบบแรก ภาพที่ได้จะหยุดนิ่ง (Stop
action) โดยการใช้ชัตเตอร์ความเร็วสูงเช่น
1/500วินาที หรือสูงกว่า
แบบที่สอง ภาพที่ได้จะดูมีความเคลื่องไหว (Movemont) โดยการใช้ชัตเตอร์ความเร็วต่ำเช่น 1/125 วินาที หรือต่ำกว่า
วิธีการถ่ายภาพเคลื่อนไหว(Movement)แบ่งย่อยได้ 3วิธีคือ
1. กล้องอยู่กับที่ แล้วถ่ายวัตถุที่เคลื่องไหว อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์1/125วินาที
2. กล้องเคลื่อนที่ โดยการส่าย(Pan)
กล้องไปตามวัตถุ
โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที จะได้ภาพฉากหลังไหวพร่า
ส่วนวัตถุที่ถ่ายไหวเล็กน้อย
3.ใช้เลนส์ซูม โดยการกดชัตเตอร์พร้อมกับซูมไปด้วย
ด้วยการหมุนซูมเข้าหาตัว หรือเรียกสั้นๆว่าระเบิดซูม ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/10-1/20
วินาที จะเห็นเส้นภาพที่ไม่ชัดวิ่งออกจากกลางภาพ
จะได้ภาพที่แสดงความเร็วอีกแบบหนึ่ง
ในการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1.ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ
ถ้าวัตถุวิ่งเข้าหากล้อง จะบันทึกความเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าวัตถุที่เคลื่อนไหวตามแนวเฉียงหรือวิ่งผ่านหน้ากล้อง
2.ระยะห่างของวัตถุจากกล้อง
ถ้าวัตถุที่จะถ่ายอยู่ไกล จะบันทึกความเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าวัตถุที่อยู่ใกล้
3.เลนส์ของกล้องที่ใช้
ถ้าใช้เลนส์ที่มี Focal Length สั้น จะบันทึกความเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าเลนส์ที่มี Focal
Length ยาว
4.สังเกตความเร็วของวัตถุ
ถ้าวัตถุเคลื่อนไหวต่างกัน การตั้งความเร็วชัตเตอร์ต้องเปลื่ยนไป วัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วต้องตั้งความไวเร็วกว่าวัตถุที่เคลื่อนไหวช้า
การถ่ายภาพกีฬามีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1.ช่างภาพต้องมีความรู้เกี่ยวกับกติกา
วิธีเล่น สถานที่แข่ง
2.ความเร็วชัตเตอร์ในการถ่ายต้องใช้ให้ถูกต้องเพื่อให้ได้ภาพทีชัดเจนคมชัด
ซึ่งการถ่ายนั้นสามารถถ่ายให้ภาพเคลื่อนไหวหยุดนิ่ง (Stop
action) โดยการตั้งชัตเตอร์สูง
เช่น 1/500 หรือสูงกว่า
3.ฉากหลังเป็นเป็นส่วนสำคัญให้ภาพดูเด่นหรือด้อย
คือถ้าต้องการให้นักกีฬาดูเด่นฉากหลังต้องไม่ชัด(Blur) โดยการเปิดหน้ากล้องกว้าง
4.เลนส์ที่ใช้ก็ควรเป็นเลนส์เทเลโฟโต้
เพราะต้องถ่ายระยะไกล ขนาดควรเกิน200mmขึ้นไป
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น